กรดไหลย้อน ลดความเสี่ยงและป้องกันได้ แค่ปรับพฤติกรรมชีวิตประจำวัน

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับโรคกระเพาะอาหารเป็นอย่างดี แต่สำหรับโรค กรดไหลย้อน อาจจะมีความรู้ที่คลุมเครือหรือไม่มั่นใจว่าตัวเองกำลังเป็นอยู่หรือไม่ เพราะอาการบางอย่างของโรคกรดไหลย้อนก็มีความคล้ายคลึงกับโรคกระเพาะอาหารอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

กรดไหลย้อน- โรคกรดไหลย้อน - สุขภาพ

 

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร

โรคกรดไหลย้อนคือภาวะของน้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะอาหารนั้นไหลย้อนขึ้นไปบนหลอดอาหาร ซึ่งอาจมีส่วนน้อยที่เป็นด่างมาจากลำไส้เล็ก และอาจจะมีหรือไม่มีอาการหลอดอาหารอักเสบร่วมด้วยก็ได้

 

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

1.ความผิดปกติของการบีบตัวที่กระเพาะอาหาร

อาหารจึงตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ และยิ่งเพิ่มโอกาสให้กรดไหลย้อนสู่หลอดอาหารมากขึ้น

2.ความผิดปกติของการบีบตัวที่หลอดอาหาร

ส่งผลให้อาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นลงสู่กระเพาะอาหารช้า หรือทำให้อาหารไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาค้างที่หลอดอาหารนานกว่าปกติ

3.ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร

หูรูดมีความดันต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์

 

อาการของโรคกรดไหลย้อน

ผู้ป่วยจะมีอาการเรอเปรี้ยว รู้สึกแสบบริเวณกลางอก หากเป็นมากๆ ก็อาจจะทำให้หลอดอาหารอักเสบหรือมีแผลรุนแรงที่ทำให้ปลายหลอดอาหารตีบได้ รวมทั้งเยื่อบุหลอดอาหารมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ หรือกลายเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้

นอกจากนี้อาการของโรคกรดไหลย้อนยังแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่มีอาการนอกหลอดอาหารที่มักจะมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง ซึ่งร้อยละ 70 ของการเจ็บคอเรื้อรังที่หาสาเหตุไม่พบจะเป็นโรคกรดไหลย้อน ในขณะที่กลุ่มที่มีอาการในหลอดอาหารจะเกิดการอักเสบ

 

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อนบ้าง

บุหรี่-cigarettes

อ้วน-กรดไหลย้อน

พบมากในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือสูบบุหรี่เป็นประจำจะมีความเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อนมากขึ้น โดยในแถบยุโรปจะพบในผู้ใหญ่มากถึงร้อยละ 20 – 40%

 

แนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนควรปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันทั้งการกินและการนอน จะช่วยรักษาอาการของโรคได้ 20% เมื่อใช้ยารักษาโรคโดยตรงจะหายได้ 80 – 100% แต่ถ้ารักษาด้วยยาแล้วยังไม่ได้ผลก็จะต้องใช้วิธีผ่าตัด “ผูกหูรูดกระเพาะอาหาร” เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อน แต่จะต้องใช้ฝีมือศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง

 

วิธีบรรเทาอาการโรคกรดไหลย้อน

อันดับแรกคือควรรับประทานเพียงแค่พอดีหรือแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ 6 มื้อต่อวัน จากนั้นรับประทานอาหารแต่ละมื้ออย่างช้าๆ พร้อมกับหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการของโรคกรดไหลย้อน เช่น อาหารทอดๆ มันๆ เนื้อสัตว์ที่มีปริมาณไขมันสูง ผลิตภัณฑ์นมชนิดเต็มมันเนย ช็อกโกแลต ซอสชนิดครีม เครื่องดื่มคาเฟอีน น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งอาหารรสจัดและผลไม้รสเปรี้ยว เป็นต้น

ทั้งนี้การนอนก็มีผลต่อโรคกรดไหลย้อนด้วยเช่นกัน ไม่ควรเข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงขนมมื้อดึก พยายามนอนตะแคงและนอนหัวสูง สวมใส่เสื้อผ้าพอดีไม่คับแน่น และหมั่นทำจิตใจให้ผ่อนคลายไม่เครียด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคกรดไหลย้อนได้แล้ว

 

สมุนไพรใกล้ตัวบรรเทาโรคกรดไหลย้อน

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยคุณค่าของสารอาหารต่างๆ มากมายและสารต้านอนุมูลอิสระ สารสำคัญในขมิ้นจะช่วยลดการอักเสบของหลอดอาหารและแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อน ทำให้อาการแสบร้อนกลางอก กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอจากอาการไอเรื้อรัง และท้องอืดท้องเฟ้อนั้นลดลง

 

สำหรับการรับประทานขมิ้นชันเพื่อหวังผลช่วยบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อน ให้รับประทานขมิ้นชันชนิดผงประมาณ 1 ช้อนชา หรือชนิดเม็ดครั้งละ 500 มิลลิกรัม จำนวน 3 เม็ด ก่อนมื้ออาหารและก่อนนอน 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารใดๆ ก็ให้รับประทานขมิ้นชันได้ทันที แต่ควรใช้ปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

 

เอกสารอ้างอิง

  1. โรงพยาบาลกรุงเทพ. “โรคกรดไหลย้อน” bangkokhospital.com
  2. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ “โรคกรดไหลย้อน” bumrungrad.com
  3. Honestdocs. 10 วิธีที่จะหยุดอาการกรดไหลย้อน” honestdocs.co
  4. Honestdocs. “ขมิ้นชันกับกรดไหลย้อน วิธีใช้ มีอาการข้างเคียงหรือไม่” honestdocs.co

อ่านเพิ่มเติม…โรคไขข้อ ดูแลและป้องกันได้

[yasr_visitor_votes size=”medium”]