มะเร็งลำไส้ โรคร้ายใกล้ตัวจากไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน

มะเร็งลำไส้ หรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 3 ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงประเทศแถบตะวันตก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้มาก่อน รวมทั้งผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าปกติ

มะเร็งลำไส้-สุขภาพ

ลักษณะของลำไส้และทวารหนัก

ลำไส้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นท่อกลวงที่มีความยาว 5 – 6 ฟุต โดยท่อความยาว 5 ฟุตแรกนั้นคือลำไส้ใหญ่ที่ต่อกับลำไส้ตรง ซึ่งมีความยาวประมาณ 6 นิ้ว และส่วนที่ต่อจากลำไส้ตรงก็คือทวารหนัก

สำหรับลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่เปลี่ยนของเสียชนิดเหลวให้เป็นอุจจาระแข็ง เมื่อเรารับประทานอาหารก็จะใช้เวลาเดินทางมาถึงลำไส้ใหญ่ประมาณ 3 – 8 ชั่วโมง โดยในช่วงเวลานี้เองที่สารอาหารจะถูกดูดซึมนำไปใช้ในร่างกาย ส่วนที่เหลือจะแปรเปลี่ยนเป็นของเสียชนิดเหลว

 

สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้

1. พันธุกรรม

dna-มะเร็งลำไส้

ผลศึกษาทางการแพทย์พบว่าโรคมะเร็งลำไส้ส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม หากคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องมีประวัติการเจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้มาก่อน ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นตามไปด้วย

2.เส้นเลือดบริเวณลำไส้เสื่อมสภาพ

เส้นเลือด-มะเร็งลำไส้

ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความยืดหยุ่นจนกระทั่งเกิดเนื้องอก จากนั้นกลายเป็นเนื้อร้ายหรือโรคมะเร็งลำไส้ในที่สุด

3.การรับประทานอาหาร

อาหารย่าง-มะเร็งลำไส้

ผู้ที่รับประทานอาหารประเภทเนื้อแดง ไขมันสูง และมีกากใยอาหารน้อย รวมทั้งอาหารปิ้งย่างหรือมีสารเคมีตกค้าง จะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้สูงเช่นกัน

4.พฤติกรรม

สูบบุหรี่-มะเร็งลำไส้

ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ประสบปัญหาโรคอ้วน สูบบุหรี่จัดและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ล้วนแต่เป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ทั้งสิ้น

 

อาการของโรคมะเร็งลำไส้

ในระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจไม่ได้สงสัยถึงอาการของโรคมะเร็งลำไส้ที่แสดงออกมา เช่น มีเลือดออกที่บริเวณทวารหนัก อุจจาระมีรูปร่างเปลี่ยนไป อุจจาระปนเลือด หรือถ่ายออกมาเป็นเลือด รวมทั้งอาการท้องผูกสลับกับท้องเดินอย่างไม่มีสาเหตุ รู้สึกปวดเบ่งแต่ไม่สามารถขับถ่ายออกมาได้ และอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อันเนื่องมาจากมีการกดทับของอุจจาระก้อนใหญ่ที่บริเวณก้นหรือฝีเย็บ

 

วิธีตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้

1.ตรวจอุจจาระ

เป็นการตรวจเบื้องต้นด้วยเลือดที่ปนกับอุจจาระ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือไม่ เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานอย่างหนึ่งว่าเลือดที่ขับถ่ายปนมากับอุจจาระ อาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้

2.ตรวจเลือด

แพทย์จะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารบางชนิดที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้

3.ตรวจส่องกล้อง

แพทย์จะให้งดรับประทานผักผลไม้ก่อนวันตรวจ 1 วัน จากนั้นรับประทานยาระบายเพื่อทำให้ท้องว่าง แล้วส่องกล้องเข้าทางทวารหนักพร้อมกับตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

4.ตรวจเอ็กซเรย์

เช่น การใช้ CT Scans หรือ MRI รวมทั้งการส่องกล้องด้วยคลื่นความถี่สูง เพื่อตรวจหาการลุกลามของเซลล์มะเร็ง

 

เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรคมะเร็งลำไส้นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัวและใกล้ตัวอย่างยิ่ง โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์ของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในสังคมปัจจุบันที่เร่งกระตุ้นให้มีความเสี่ยงสูงขึ้น แต่ถ้าเราทำความเข้าใจแล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตประจำวันเพื่อป้องกัน หรือเข้ารับการตรวจรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็จะมีโอกาสหายและป้องกันการลุกลามที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

เอกสารอ้างอิง

  1. โรงพยาบาลกรุงเทพ. “มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ป้องกันได้หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” bangkokhospital.com
  2. Honestdocs “สาเหตุ อาการ และการตรวจพบโรคมะเร็งลำไส้”honestdocs.co

 

อ่านเพิ่มเติม…งาดำ สุดยอดธัญพืชต้านอนุมูลอิสระ

[yasr_visitor_votes size=”medium”]