งานวิจัยยาเสริมรักษาCOVID19-1

งานวิจัยยาเสริมรักษาCOVID-19 แปล 1

การรับประทานเคอรคูมินร่วมกับไพเพอรีนเป็นยาเสริมสำหรับการรักษา COVID-19: การทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม

(Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment of COVID-19: A Randomized Clinical Trial)

Kirti S Pawar 1*, Rahul N Mastud1, Satheesh K Pawar 2, Samragni S Pawar 3, Rahul R Bhoite4, Ramesh R Bhoite1, Meenal V Kulkarni 5 and Aditi R Deshpande6

1Giriraj Hospital and Intensive Care unit, Baramati, India, 2Siddhivinayak Ultrasound Research Center, Baramati, India, 3HBT Medical College, and Dr. R N Cooper Municipal General Hospital, Mumbai, India, 4Medstar Good Samaritan Hospital, Baltimore, MD, United States, 5Department of Preventive and Social Medicine, N K P Salve Medical College Nagpur, Nagpur, India, 6Freelance Statistician, Nagpur, India

ความเป็นมาของการศึกษา: ไวรัส Corona-2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบทางพยาธิสรีรวิทยาในร่างกายที่หลากหลาย Curcumin องค์ประกอบสำคัญของ Curcuma longa (ขมิ้น) มีคุณสมบัติหลายอย่าง ได้แก่ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส ฤทธิ์ต้านการอุดตันของลิ่มเลือด และมีฤทธิ์ต้านการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง อาจกล่าวได้ว่า Curcumin อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกเพื่อใช้ในการรักษา COVID-19 ตามอาการได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการรับประทานเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีน (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมของเคอร์คูมิน) ต่ออาการในผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยทำการทดลองหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบการปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง, แบบสุ่ม และแบบควบคุม ณ ศูนย์สุขภาพโควิด (DCHC) ขนาด 30 เตียง ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย

วิธีการดำเนินการศึกษา: ผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม ผู้ป่วย COVID-19 ที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน (ยา probiotics) และกลุ่มที่ได้รับประทานยาเม็ด ที่ประกอบด้วยเคอร์คูมิน (ขนาด 525 มก.) ร่วมกับไพเพอรีน (ขนาด 2.5 มก.) วันละสองเวลา จากนั้นทำการประเมินผลลัพธ์จากการรักษา ทั้งผลลัพธ์หลักและรอง รวมทั้งระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วย

ผลลัพธ์: ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง (mild) ปานกลาง (moderate) และรุนแรง (severe) เมื่อได้รับการรักษาด้วยเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีน พบว่ามีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น (มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ และหอบที่น้อยลง) ความรุนแรงของโรคที่ลดลง สามารถรักษาระดับของออกซิเจนในเลือดให้สูงกว่า 94%ได้ และแสดงผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา probiotics ตามมาตราญาน นอกจากนี้การรักษาด้วยเคอร์คูมิน/ไพเพอรีน ยังสามารถช่วยลดระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง และพบว่ากลุ่มที่ได้รับเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีน มีอัตราการเสียชีวิตจาก COVID-19 น้อยลงตามไปด้วย

สรุป: จากการศึกษาพบว่าการรับประทานเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีน เพื่อใช้เป็นยาเสริมสำหรับการรักษา COVID-19 นั้น สามารถลดอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังสามารถลดภาระในระบบการรักษาพยาบาล ดังนั้นเคอร์คูมินจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับการรักษา COVID-19 จากสารธรรมชาติ และยังสามารถป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังการติดเชื้อ COVID-19 ได้

Download “Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment of COVID-19: A Randomized Clinical Trial”

Adjuvant-Therapy-for-the-Treatment-of-COVID-19.pdf – Downloaded 38 times – 774.73 KB

แก้ไขข้อมูลโดย:

Damaris Silveira
มหาวิทยาลัยบราซิเลีย ประเทศบราซิล

ตรวจทานโดย:

Omar Estrada,
Instituto devenezolano
Investigaciones Científicas (IVIC) ประเทศเวเนซุเอลา
Bharat Aggarwal B
มหาวิทยาลัยเท็กซัสศูนย์มะเร็ง MD Anderson, ประเทศสหรัฐอเมริกา

* ผู้ประสานงานหลักของงานวิจัย:
Kirti S. Pawar
kirti.skpawar@gmail.com

ส่วนพิเศษ:

บทความนี้ถูกส่งไปยังวารสาร Ethnopharmacology
ส่วนหนึ่งของวารสาร Frontiers in Pharmacology
วันที่รับเข้ามา: 18 กุมภาพันธ์ 2021 วันที่รับตีพิมพ์: 20 เมษายน 2021
วันที่เผยแพร่: 28 พฤษภาคม 2021

การอ้างอิง:                                                                                                                                    

Pawar KS, Mastud RN, Pawar SK, Pawar SS, Bhoite RR, Bhoite RR,
Kulkarni MV and Deshpande AR (2021).
Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment
of COVID-19: A Randomized Clinical Trial.
Front. Pharmacol. 12:669362. doi: 10.3389/fphar.2021.669362

บทนำ

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่กำลังดำเนินอยู่ มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ SARS-CoV-2 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากมาย ทั้งทางด้านการแพทย์ สังคม และเศรษฐกิจไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 อาจมีอาการไข้ หายใจลำบาก และปอดบวมเฉียบพลัน (Huang et al., 2020) รวมทั้งอาการผิดปกติอื่นๆ ตัวอย่างเช่น เกิดผื่นที่ผิวหนัง ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน การสูญเสียการรับกลิ่นเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด และกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) และความล้มเหลวของหลายระบบภายในร่างกาย เนื่องจากกลุ่มอาการจากการหลั่งไซโตไคน์ (cytokine) ของระบบภูมิคุ้มกัน (CRS) จากปัญหาจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นและการขาดการรักษาเฉพาะทาง  หลายประเทศทั่วโลกจึงริเริ่มการศึกษา เพื่อหาแนวทางการรักษาโรคที่มีความเฉพาะทาง ในประเทศอินเดีย หน่วยงานเฉพาะกิจ COVID-19 ได้มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ได้แก่ การใช้ยาต้านจุลชีพ (antimicrobials) เช่น ยา doxycycline, remdesivir, pavipiravir, oseltamivir และ ivermectin เพื่อต้านการติดเชื้อจากไวรัสภายในร่างกาย, การใช้ยาในกลุ่มต้านการอักเสบ ​(anti-inflammation) เช่น hydroxychloroquine, tocilizumab และ itolizumab เพื่อลดภาวะการอักเสบที่เกิดจากการกระตุ้นการหลั่ง cytokine จากระบบภูมิคุ้มกัน, การใช้ยาที่ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดที่เป็นอันตราย (blood thinners) เช่น heparin ทั้งรูปแบบที่ไม่มีการแยกส่วนขององค์ประกอบ และชนิดที่มีโมเลกุลต่ำเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด และภาวะแทรกซ้อนของลิ่มเลือดอุดตัน, รวมทั้งการใช้ยาในกลุ่มต้านการอักเสบร่วมกับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น methyl prednisolone และ dexamethasone เพื่อลดความรุนแรงจากภาวะการหลั่ง cytokine และการเกิดภาวะพังผืดในปอด อีกทั้งยังใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น

Curcumin (เคอร์คูมิน) สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของ Curcuma longa (ขมิ้น) สรรพคุณในการรักษาโรคของสารเคอร์คูมินนั้นมีอย่างหลากหลาย  (Loeber และ Buechner 1748; Vogel and Pelletier, 1815; Oppenheimer, 1937; Keihanian et al., 2018) เคอร์คูมินอาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกชั้นเลิศ เพื่อใช้ในการรรักษา COVID-19 ตามอาการได้ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เคอร์คูมินมีคุณสมบัติในการต้านไวรัส รวมถึงไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิด COVID-19 ได้เทียบเท่ากับยา hydroxychloroquine  ที่นำไปใช้ทดลองรักษาทางคลินิคในผู้ป่วย COVID-19 (Maurya et al., 2020) นอกจากนี้ เคอร์คูมินยังมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ (Gupta et al., 2013), เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ, ต้านแบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา, ต้านลิ่มเลือดอุดตัน, ต้านการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง, มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด, ต้านการเกิดโรคมะเร็ง, ปกป้องระบบประสาท และป้องกันโรคหัวใจ (Aggarwal and Harikumar, 2009; Keihanian et al., 2018) รวมทั้งยังมีส่วนช่วยควบคุมการการส่งสัญญาณในการทำงานของร่างกาย ได้แก่ pro-inflammatory cytokines, apoptotic proteins, NF–κB, cyclooxygenase-2, 5-LOX, STAT3, C-reactive protein, prostaglandin E2, prostate-specific antigen, adhesion molecules, phosphorylase kinase, transforming growth factor- β, triglyceride, ET-1, creatinine, HO-1, AST, and ALT (Shanmugam et al., 2015) นอกจากนี้ยังพบว่าเคอร์คูมินสามารถต้าน thrombin และ FXa และลดความหนืดของเลือด จึงสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (coagulopathy) ในผู้ป่วย COVID-19 และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ (Keihanian et al., 2018)

จากการศึกษาระดับพรีคลินิกแสดงให้เห็นว่า เคอร์คูมินสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถบรรเทาความรุนแรงการบาดเจ็บที่ปอด และยับยั้งการเกิดภาวะพังผืดของปอดที่อาจตามมา (Liu and Ying, 2020) มีรายงานการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับการใช้เคอร์คูมินในการรักษาโรคผิวหนัง ตา ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบทางเดินหายใจ หลอดเลือดหัวใจ ทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ การอักเสบ และความผิดปกติของการเผาผลาญของร่างกาย (Salehi et al., 2019) ​ นอกจากนี้สารเคอร์คูมินอยด์ยังได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่า “เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีความปลอดภัยในการนำมาใช้งาน”  (Generally Recognized As Safe: GRAS) และมีความทนต่อยา (tolerability) และมีความปลอดภัยในการนำใช้งาน (Hewlings and Kalman, 2017) อีกทั้งมีผลข้างเคียงจากการรับประทานค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับสารเคมีชนิดอื่นๆ ทั้งในการใช้ระยะสั้นและระยะยาว

อย่างไรก็ตามการนำเคอร์คูมินมาใช้ในการรักษาหรือบรรเทาโรคยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งอาจทำให้เคอร์คูมินทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ  โดยเคอร์คูมินสามารถหมุนเวียนภายในร่างกายค่อนข้างน้อย จึงทำให้มีความเข้มข้นต่ำหรือตรวจไม่พบในเลือดและเนื้อเยื่อนอกลำไส้ ดังนั้นเคอร์คูมินจึงถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและร่างกายได้ไม่ดี ถูกเมแทบอลิซึมอย่างรวดเร็วในตับและผนังลำไส้ มีความไม่เสถียรทางเคมี อีกทั้งยังถูกกำจัดออกนอกร่างกายอย่างทันทีทันใด  (Anand et al., 2007; Toden and Goel, 2017) ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ใช้เคอร์คูมินร่วมกับสารจากธรรมชาติชนิดอื่นๆ เพื่อช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการดูดซึมของเคอร์คูมินให้ดียิ่งขึ้น Piperine (ไพเพอรีน) เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพ (Bio-enhancer) ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมของเคอร์คูมินได้มากขึ้น (Shoba et al., 1998; Sharma et al., 2010; Suresh และ Srinivasan, 2010) โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมได้ถึง 2,000 เท่า (Han, 2011) ดังนั้นในการศึกษานำร่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการได้รับประทานยาที่มีส่วนผสมของเคอร์คูมินและไพเพอรีนในผู้ป่วย COVID-19 และทำการสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสามารถนำไปใช้ได้จริงในการรักษาอาการของผู้ป่วย COVID-19 ในอนาคต

Download “Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment of COVID-19: A Randomized Clinical Trial”

Adjuvant-Therapy-for-the-Treatment-of-COVID-19.pdf – Downloaded 38 times – 774.73 KB

วิธีในการดำเนินงานวิจัย

การออกแบบการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดลองหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบการปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง, แบบสุ่ม และแบบควบคุมโดยให้ยา probiotics ณ ศูนย์สุขภาพเฉพาะโรคโควิด (DCHC) ขนาด 30 เตียง ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย เนื่องจากไม่มีคณะกรรมการจริยธรรมประจำสถาบัน ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้รับการอนุมัติทางจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมอิสระแห่งปูเน่ (Royal Pune Independent Ethics Committee) ทำการลงทะเบียนในเว็ปไซต์  http://www.clinicaltrials.gov (หมายเลขจริยธรรม CTRI/2020/05/ 025482) และได้แสดงวิธึการ ขั้นตอนในการศึกษาครั้งนี้ด้วย

การคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัย

ทำการคัดเลือกผู้ป่วยที่มีอาการและแสดงผลบวก (Positive) ของการติดเชื้อ COVID-19 โดยจะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน 2563 การศึกษาครั้งมีเกณฑ์คัดออก (exclusion criteria) ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับยาทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ให้ประสิทธิภาพมากที่สุด, ผู้ป่วยที่ต้องการเครื่องช่วยหายใจภายใน 24 ชั่วโมงหลังเข้ารับการรักษา (มีอาการ Acute Respiratory Distress Syndrome), ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร, ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด coumarin, ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ต่อเคอร์คูมินและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารชนิดนี้ และผู้ป่วย COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ ก่อนเริ่มการเข้าร่วมงานวิจัย ญาติของผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือกหรือญาติสนิทจะต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในแบบฟอร์มแสดงความยินยอมทั้งในเอกสารฉบับภาษาอังกฤษและภาษาท้องถื่น

การทดลองแบบสุ่มและการปกปิดข้อมูลในการทดลอง

ผู้เข้าร่วมการทดลองถูกสุ่มให้ได้รับการรักษาที่แตกต่างกันคือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา ซึ่งแต่ละกลุ่มการทดลองมีผู้ป่วยจำนวน 70 ราย ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษา COVID-19 แบบเดิมที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงาน COVID-19 ของรัฐมหาราษฏระ นอกจากนี้ผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมจะได้รับยา probiotics และผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาจะได้รับเคอร์คูมินกับไพเพอรีนในแคปซูลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

โปรแกรมเมอร์ที่ไม่มีบทบาทในการสรรหาผู้เข้าร่วมการวิจัย การรักษา หรือการประเมินอาการผู้ป่วย จะทำการกำหนดการสุ่มและลำดับการจัดสรรอย่างอิสระ ขนาดของตัวอย่างขั้นต่ำที่ถูกคำนวณสำหรับแต่ละกลุ่มคือ 60 ราย ในการศึกษานำร่องพบสัดส่วนของผู้ป่วยที่เป็นโรค COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง (SpO2 > 94%), อาการปานกลาง (SpO2 ระหว่าง 90 ถึง 94 ร่วมกับภาวะปอดอักเสบ) และมีอาการรุนแรง (SpO2 < 90%) คือ 6:5:3 เพื่อหลีกเลี่ยงอคติในการคัดเลือกและพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่อาสาสมัครจะออกจากกลางคันระหว่างการทดลอง จึงเลือกกลุ่มตัวอย่างขนาด 70 คน โดยมีสัดส่วนของผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มย่อยใกล้เคียงกัน (ผู้ป่วย 30 รายที่ มีอาการไม่รุนแรง, 25 ราย มีอาการปานกลาง และ 15 ราย ที่มีอาการรุนแรง ทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา) สำหรับลำดับการจัดสรรสำหรับแต่ละกลุ่มย่อย (อาการไม่รุนแรง ปานกลาง และรุนแรง) ถูกสร้างขึ้นโดยใช้แอปพลิเคชันการสุ่ม รายละเอียดในการทดลองจะไม่ถูกเปิดเผยจนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการทดลอง

เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ดูแลการรักษาผู้ป่วยจะได้รับซองทึบแสงจำนวน 3 ชุด (ระดับอ่อน: 60, ปานกลาง:50 และรุนแรง: 30) โดยสุ่มชุดซองทึบแสง โดยแต่ละชุดมีหมายเลขเฉพาะ ครึ่งหนึ่งของซองแต่ละชุดประกอบด้วยโปรไบโอติก และอีกครึ่งหนึ่งจะเป็นยาสูตรเคอร์คูมิน เนื่องจากเคอร์คูมินเป็นยาที่มีความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้วิจัยจึงไม่คำนึงถึงผลข้างเคียงจากการรับประทาน หลังจากอาสาสมัครได้ให้ความยินยอมและการตรวจทางคลินิกเบื้องต้นแล้ว แพทย์ผู้ให้การรักษาทำการแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มย่อยคือ ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ปานกลาง และผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยพิจารณาจากสภาพทางคลินิกของผู้ป่วยร่วมด้วย จากนั้นแพทย์ทำการเลือกซองยาตามกลุ่มย่อยที่สอดคล้องกับการเลือกสุ่มที่ได้กำหนดไว้ โดยไม่มีการแทนที่หรือเพิ่มเติมยาดั้งเดิม การทดลองจะดำเนินจนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มย่อย

ผู้เข้าร่วมการทดลอง เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ให้การรักษา รวมทั้งนักวิจัยที่ทำการประเมินผลลัพธ์และวิเคราะห์ข้อมูล จะถูกปกปิดข้อมูลตามกลุ่มงานที่ได้รับมอบหมาย

ขั้นตอนในการศึกษา

ข้อมูลผู้ป่วยถูกแสดงในตารางที่ 1 โดยผู้ป่วยทุกรายในการศึกษาครั้งนี้ให้ผล positive จากการทดสอบ antigen ต่อ COVID-19 และได้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลชนบท เมือง Rui, Baramati ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์สุขภาพ เฉพาะทางสำหรับโรค COVID-19 จากนั้นผู้ป่วยจะถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม ตามสภาพทางคลินิก ได้แก่ ผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง (SpO2 > 94%), อาการปานกลาง (SpO2 ระหว่าง 90 ถึง 94 ร่วมกับภาวะปอดอักเสบ) และมีอาการรุนแรง (SpO2 < 90%) ผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยและปานกลางจะเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทั่วไป สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก

จากนั้นกำหนดกลุ่มสำหรับผู้ป่วย “C3” คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับเคอร์คูมินและไพเพอรีน สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา probiotics กำหนดเป็นกลุ่ม “Non-C3” โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการรักษา COVID-19 แบบเดิมที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงาน COVID-19 ของรัฐมหาราษฏระ (เวอร์ชั่น 4) นอกจากนั้นกลุ่มกลุ่มควบคุมยังได้รับแคปซูล probiotics (Nutrolin B Plus ประกอบด้วย กรด lactic Bacillus และวิตามินบี; Ciplamed) และกลุ่มศึกษาได้รับยาเคอร์คูมิน (Curcumin C3 Complex®; Samidirect, India) ที่ได้รับการอนุมัติจาก USFDA ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมขนาด 525 มิลลิกรัมต่อหนึ่งเม็ด ที่ประกอบด้วยเคอร์คูมิน (Diferuloylmethane) 525 มิลลิกรัม ร่วมกับไพเพอรีน ขนาด 2.5 มิลลิกรัม (Bioperine®, SamiDirect) วันละสองเวลา เป็นเวลา 14 วันนับจากวันที่เข้ารับการรักษา (ดังแสดงในรูปที่ 1)

ทำการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (C-reactive protein และ D-dimer) ในวันแรกของการเข้ารับการรักษาและเก็บเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น สำหรับการตรวจสอบและติดตามอุณหภูมิ ชีพจร อัตราการหายใจ และ ปริมาณ SpO2 ในร่างกาย จะถูกตรวจสอบทุกๆ 4 ชั่วโมงในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรงและปานกลาง และจะตรวจสอบตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การประเมินผลลัพธ์ของการศึกษาจะถูกบันทึกทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มศึกษาตลอดระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วย

ตารางที่1 ข้อมูลผู้ป่วยในการศึกษาครั้งนี้

รูปที่1 CONSORT flow diagram for this study

การประเมินผลลัพธ์จากการรักษา

แบ่งออกเป็น ผลลัพธ์หลัก (The primary outcomes: PO) และ ผลลัพธ์รอง (The secondary outcomes: SO)

ผลลัพธ์หลัก (The primary outcomes: PO) ที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์จากการรักษา มีดังต่อไปนี้

PO1 จำนวนวันที่ต้องบรรเทาอาการ (DRR): มีไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก
PO2 ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะที่เป็นสัญญาณอันตราย (Red flag sign) ดังต่อไปนี้
– อัตราส่วน neutrophil ต่อ lymphocyte มากกว่า 3.5
– อัตราส่วนอากาศที่หายใจเข้าไปมีออกซิเจนมากแต่กลับเข้าสู่เลือดแดงไม่มาก (P: F) น้อยกว่า 300
– มีการเพิ่มขึ้นของระดับ C- Reactive protein (CRR), Ferritin, D-dimer, LDH และ Triglycerides
– Troponin I และ CK-MB. ให้ผลบวก
PO3 ผู้ป่วยมีระดับ SpO2 ให้ สูงกว่า 94% ณ อากาศในห้อง ตลอดการเข้าพักการรักษาในโรงพยาบาล
PO4 จำนวนวันที่ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาระดับ SpO2 ให้สูงกว่า 94% ได้ในอากาศในห้อง
PO5 ผู้ป่วยต้องการการรักษาด้วยออกซิเจน
PO6 จำนวนวันที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน
PO7 ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนด้วยการใช้ออกซิเจนอัตราไหลสูง (high-flow nasal cannula; HFNC)
PO8 ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาระดับ SpO2 >88% แม้จะให้ออกซิเจน
PO9 ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้
A. การใส่ท่อช่วยหายใจ (Intubation)
B. การใช้เครื่องมือที่ช่วยทำให้เกิดการขนส่งของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างอากาศและเส้นเลือดในปอด (Mechanical ventilation) [แบบสอดใส่เข้าไปในร่างกาย หรือไม่สอดใส่เข้าสู่ร่างกาย]

MV. (NI) ไม่สอดใส่เข้าสู่ร่างกาย

MV. (I) แบบสอดใส่เข้าไปในร่างกาย

PO10 ผลทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ระดับ CRP, D-dimer, Hb D, LDH, Neutrophils/Lymphocytes (N/L ratio) >3.5 หรือ <3.5
PO11 ความผิดปกติของการเอกซเรย์ทรวงอก
PO12 ผู้ป่วยต้องการใช้โปรโตคอลสำหรับการปรับตำแหน่งหรือการนอนคว่ำ (COVID awake repositioning/proning protoco: CARP)
PO13 ผู้ป่วยต้องใช้ยากลุ่มเฮพารินที่มีน้ำาหนักโมเลกุลต่ำา (Low molecular weight heparin: LMWH) เพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด
PO14 ผู้ป่วยต้องใช้ยา remdesivir (ยาต้านไวรัส)
PO15 ผู้ป่วยต้องใช้ยาเพื่อรักษาการหลั่งของ cytokine

ผลลัพธ์รอง (The secondary outcomes: SO) ที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์จากการรักษา มีดังต่อไปนี้

SO1 ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ
SO2 ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล: น้อยกว่า 10 วัน,  10-14 วัน หรือ มากกว่า 14 วัน
SO3 พบภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thromboembolic) เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction), โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism) หรือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis: DVT) ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล
SO4 การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับไวรัส SARS CoV2 และสาเหตุอื่นๆ
อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ทำการเฝ้าติดตามคือ ADR1: คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง, ADR2: ผื่นที่ผิวหนัง, ADR3: รู้สึกแสบขณะปัสสาวะ และ ADR4 มีเลือดออก หรือมีภาวะปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
ผู้ป่วยสามารถออกจากโรงพยาบาลเมื่อไม่มีอาการเป็นเวลามากกว่า 48 ชั่วโมง

Download “Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment of COVID-19: A Randomized Clinical Trial”

Adjuvant-Therapy-for-the-Treatment-of-COVID-19.pdf – Downloaded 38 times – 774.73 KB

อ่านต่องานวิจัยแปลช่วงที่ 2

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

 

: 02-510-2957

 : phuengluang.s