งานวิจัยยาเสริมรักษาCOVID19-2

งานวิจัยยาเสริมรักษาCOVID-19

การรับประทานเคอรคูมินร่วมกับไพเพอรีนเป็นยาเสริมสำหรับการรักษา COVID-19: การทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม

(Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment of COVID-19: A Randomized Clinical Trial)

แปล 2 ต่อจาก แปล 1

การวิเคราะห์ทางสถิติ

จากขนาดของประชากรในการศึกษาครั้งนี้และจากผลการศึกษาก่อนหน้า ผู้วิจัยได้กำหนดค่าที่ยอมรับได้ที่ 90% ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 5% ซึ่งมีความแตกต่าง 30% ในสัดส่วนของผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการฟื้นตัวจาก COVID-19 (กำหนดกลุ่มควบคุม 55%เปรียบเทียบกับกลุ่มศึกษา 25%) ขนาดตัวอย่างประชากรขั้นต่ำที่คำนวณสำหรับแต่ละกลุ่มคือ 60 ราย ในการศึกษาครั้งนี้จึงเลือกอาสาสมัครจำนวน 70 ราย เพื่อป้องกันการออกระหว่างการศึกษา

การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 20.0 และ Microsoft Office Excel 2007 ตัวแปรทางประชากรศาสตร์ถูกจัดตารางโดยใช้การแจกแจงความถี่ของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวแปรต่อเนื่องจะใช้ค่าสถิติคือ two-way ANOVA สำหรับข้อมูลสองหรือสามกลุ่ม และทำการเปรียบเทียบภายหลัง (Post hoc test) สำหรับผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญของ two-way ANOVA นอกจากนี้ในการวิเคราะห์ตัวแปร Binary หรือ Categorical จะใช้ค่าสถิติ odds ratioในการวิเคราะห์ทางสถิติ

Download “Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment of COVID-19: A Randomized Clinical Trial”

Adjuvant-Therapy-for-the-Treatment-of-COVID-19.pdf – Downloaded 38 times – 774.73 KB

ผลการศึกษา

ผลลัพธ์หลัก (The primary outcomes: PO)

เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาที่ได้รับยาเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีน ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ, อาการปานกลาง  และอาการรุนแรง กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับยา probiotics พบว่าผู้ป่วยกลุ่มศึกษาสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าปกติ (มีอาการไข้,เจ็บคอ และหายใจลำบากลดลง), อาการทรุดน้อยลงระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล, อุบัติการณ์การเกิดอาการปวดศีรษะที่เป็นสัญญาณอันตราย (Red flag sign) ลดลง และสามารถรักษาระดับ Sp02 > 94% ณ อุณหภูมิห้องได้ดีขึ้นและนานมากกว่าปกติ ตลอดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่มศึกษายังต้องการใช้การรักษาด้วยออกซิเจนทั้งแบบปกติ และแบบการใช้ออกซิเจนอัตราไหลสูง (high-flow nasal cannula; HFNC) รวมทั้งต้องการการใส่ท่อช่วยหายใจ (Intubation) และการใช้เครื่องมือที่ช่วยทำให้เกิดการขนส่งของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างอากาศและเส้นเลือดในปอด (Mechanical ventilation) เพื่อรักษาระดับ Sp02 > 88% ที่น้อยลงกว่าปกติ ถึงแม้ผลทางห้องปฎิบัติการของทั้งสองกลุ่มจะแย่ไม่แตกต่างกัน โดยพบการเพิ่มขึ้นของระดับ D-dimer ในกลุ่มศึกษาจะมีความรุนแรงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

อัตราส่วนระหว่าง neutrophil/lymphocyte สูงกว่า 3.5 ในทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติในผู้ป่วยกลุ่มอาการปานกลางเปรียบเทียบกับกลุ่มอาการรุนแรง ผู้ป่วย 3 ใน 30 ราย ของผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางในกลุ่มศึกษาที่ได้รับยาเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีน และ 7 ใน 30 ราย จากกลุ่มควบคุม จากการเอกซเรย์ทรวงอกพบว่าแสดงภาวะปอดอักเสบระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยพบภาวะปอดอักเสบทั้งสองข้าง ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางในกลุ่มศึกษาที่มีภาวะปอดอักเสบเพียงข้างเดียว

นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยน้อยรายในกลุ่มศึกษาที่ได้รับยาเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีนที่ต้องการใช้โปรโตคอลสำหรับการปรับตำแหน่งหรือการนอนคว่ำ, ยา remdesivir (ยาต้านไวรัส), ยากลุ่มเฮพารินที่มีน้ำาหนักโมเลกุลต่ำา (Low molecular weight heparin: LMWH) เพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด, ยา favipiravir, สาร steroid หรือต้องการอาหารเสริมระหว่างการรักษา และพบว่าไม่มีผู้ป่วยกลุ่มศึกษาต้องฉีดยา tocilizumab เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบ ในขณะที่มีผู้ป่วยจำนวน 5 ใน 25 ราย ในกลุ่มควบคุม, 2 ใน 15 ราย ของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงในกลุ่มศึกษา และ 4 ใน 15 ของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงในกลุ่มควบคุม ต้องได้รับการรักษาภาวะปอดอักเสบ ด้วยการฉีดยา tocilizumab อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ป่วยรายใดที่มีภาวะปอดอักเสบรอดชีวิตในการศึกษาครั้งนี้

ผลลัพธ์รอง (The secondary outcomes: SO)

ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่มีความแตกต่างกันทั้งในกลุ่มศึกษาที่ได้รับยาเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับยา probiotics อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาการปานกลางและรุนแรงในกลุ่มศึกษามีแนวโน้มฟื้นตัวที่เร็วกว่าผู้ป่วยอาการดังกล่าวในกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาต้องการใช้เครื่องมือที่ช่วยทำให้เกิดการขนส่งของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างอากาศและเส้นเลือดในปอด (Mechanical ventilation) และพบภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thromboembolic) ได้น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่ต้องได้รับยา aspirin ระหว่างการรักษา

อีกทั้งยังไม่พบการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มศึกษาที่มีอาการไม่รุนแรงและปานกลาง ขณะที่พบการเสียชีวิต 1 จาก 30 ราย ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และ 5 จาก 25 ราย ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางของกลุ่มควบคุม และพบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงในกลุ่มศึกษาที่ได้รับยาเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีน (2/15 ราย) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับยา probiotics (5/15 ราย)

Download “Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment of COVID-19: A Randomized Clinical Trial”

Adjuvant-Therapy-for-the-Treatment-of-COVID-19.pdf – Downloaded 38 times – 774.73 KB

การอภิปรายผลการศึกษา

จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการรับประทานเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีนเพื่อใช้ในการรักษาหลังการติดเชื้อ COVID-19 นั้น สามารถส่งสริมและปรับปรุงการรักษา COVID-19 ได้อย่างมีนัยสำคัญ ผู้ป่วยที่รับประทานยาที่ประกอบด้วยสารสองชนิดสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าปกติ (มีอาการไข้,เจ็บคอ และหายใจลำบากลดลง) ความต้องการในการรักษาที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยออกซิเจน การใช้เครื่องมือที่ช่วยทำให้เกิดการขนส่งของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างอากาศและเส้นเลือดในปอด (Mechanical ventilation) เพื่อรักษาระดับ Sp02 ในร่างกาย และความต้องการฉีดยา tocilizumab เพื่อรักษาภาวะปอดอักเสบ รวมทั้งยังส่งผลดีต่อผลลัพธ์รองของผู้ป่วย  เช่น ลดจำนวนวันในการใช้เครื่อง mechanical ventilation, เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thromboembolic) น้อยลง และลดจำนวนวันในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้

อย่างที่ทราบโดยทั่วกันนั้น COVID-19 เกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดพยาธิสรีรวิทยาในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ภาวะการอักเสบที่มีความรุนแรงต่อชีวิต, การหลั่ง cytokine จากระบบภูมิคุ้มกัน และการเกิดภาวะซึ่งมีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด (Coagulopathy) โดยภาวะการอักเสบจะเป็นสิ่งแรกที่ปรากฏ หากมีการติดเชื้อ COVID-19 การติดเชื้อไวรัสและการภาวะอักเสบอาจส่งผลต่อความเข้มข้นของเลือด ทำให้เป็นการยากในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ (คล้ายคลึงกับภาวะการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยไม่อยู่ในความควบคุมของกลไกปกติของร่างกาย: polycythemia vera) จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดออกซิเจน Curcumin มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและออกฤทธิ์ต้านการเกิดลิ่มเลือดผ่านการยับยั้ง thrombin และ FXa (Kim et al., 2012) สามารถลดความหนืดของเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเคอร์คูมินจึงมีฤทธิ์เป็นยาต้านการอักเสบในการติดเชื้อ COVID-19  ในการศึกษาครั้งนี้เมื่อใช้เคอร์คูมินร่วมกับยาต้านไวรัสและยาที่ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดี เช่นเดียวกับการรับประทานยา aspirin  และ ยา clopidogrel ซึ่งใช้เป็นยาเสริมร่วมกับยาละลายลิ่มเลือดในการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตาย การรับประทานเคอร์คูมินสามารถลดการเกิดการแข็งตัวของเลือดผิดปกติที่พบได้ในโรค COVID-19 เมื่อใช้ร่วมกับยา heparin หรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและเชื้อราของเคอร์คูมิน อาจมีบทบาทในการป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ และทำให้สามารถฟื้นตัวจากการติดเชื้อได้เร็วขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อ COVID-19 ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี, โรคเบาหวาน (Zhang et al., 2013; Poolsup et al., 2019), โรคความดันโลหิตสูง (Leong, 2018), โรคหัวใจ (Wongcharoen and Phrommintikul, 2009), โรคปอดเรื้อรัง (Venkatesan et al., 2007; Biswas and Rahman, 2008; Moriyuki et al., 2010), โรคหลอดเลือดสมอง (Ovbiagele, 2008), โรคไตเรื้อรัง (Ghosh et al., 2014; de Almeida Alvarenga et al., 2018), ภาวะกดภูมิคุ้มกัน (Sharma et al., 2007; Mollazadeh et al., 2019) และโรคมะเร็ง (Ravindran et al., 2009) เคอร์คูมินเป็นสารเสริมที่มีประสิทธิภาพในการรักษาปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวมา นอกจากนี้เคอร์คูมินมักไม่เกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงจากการรับประทาน ตัวอย่างเช่น ความเป็นพิษของออกซิเจนและภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่เกิดจากการรับประทานยา heparin อีกทั้งการรับประทานเคอร์คูมินยังมีความปลอดภัยเมื่อต้องใช้ในระยะยาว (Gupta et al., 2013)

สารพิษ (Endotoxin) ที่ถูกปล่อยออกมาจากจุลินทรีย์ สามารถไปกระตุ้มเซลล์ macrophages และ neutrophils ให้มีการหลั่ง cytokines และ eicosanoids ที่เกี่ยวข้องกับภาวะการอักเสบได้ เช่น thromboxane A2 (Conti et al., 2020) ยาต้านการอักเสบ เช่นสารยับยั้ง COX-2 อาจทำให้การผลิต prostaglandin ไม่สมดุล ความดึงดูดทางเคมีที่มากขึ้นสำหรับไอโซฟอร์ม COX-2 อาจทำให้เกิดการสะสมของ thromboxane ซึ่งเป็น prostaglandin ที่ก่อให้เกิดการรวมตัวและการหดตัวของหลอดเลือดที่ผลิตจากไอโซฟอร์ม COX-1

ดังนั้นจึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วย COVID-19 ได้ ในบริบทนี้เคอร์คูมินมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านการเกิดลิ่มเลือด ในผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการแทรกซ้อนจากลิ่มเลือดอุดตันในระยะยาว การรักษาด้วยเคอร์คูมินอาจลดภาวะแทรกซ้อนของลิ่มเลือดอุดตันโดยมีความเสี่ยงต่อการตกเลือดน้อยลง เมื่อหยุดการรักษาด้วยเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำหรือเฮปารินแบบไม่แยกส่วน หรือหากไม่มีการรักษาด้วยเฮปารินก็ตาม

จากการศึกษาระดับพรีคลินิกแสดงให้เห็นว่า เคอร์คูมินสามารถต้านการหลั่ง cytokines จากระบบภูมิคุ้มกันได้ (Shanmugam et al., 2015) อีกทั้งยังป้องกันการเกิดความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด (Coagulopathy) (Singh, 2020; Suresh, 2020) และทำหน้าที่เป็นยาต้านไวรัส (Zahedipour et al., 2020) ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาแรกที่อธิบายถึงประสิทธิภาพของยาเคอร์คูมินแบบรับประทานร่วมกับไพเพอรีนในการรักษาตามอาการของผู้ป่วย COVID-19

ในการศึกษาครั้งนี้มีข้อจำกัดบางประการ ได้แก่ ความพยายามในการทดสอบทั้ง activated partial thromboplastin time (aPTT) และ prothrombin time (PT) ในผู้ป่วยทุกราย เนื่องจากข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่ ทำให้สามารถทดสอบได้ในผู้ป่วยบางส่วนที่ได้รับยา heparin แบบ low molecular weight ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อย

อีกทั้งยังพบว่าไม่มีผู้ป่วยรายใดที่มีค่า INR (International normalized ratio คือ การตรวจเพื่อดูระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือด) เพิ่มขึ้นจากค่าควบคุม ซึ่งพบว่าผู้ป่วยกลุ่มศึกษาที่ได้รับยาเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีนมีค่า INR ใกล้เคียงกับค่ามาตรฐาน ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยกลุ่มควบคุมที่ได้รับยา probiotics กลับมีค่า INR ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน

ปัจจุบันการจัดการและสังเกตอาการด้วยตัวเองเมื่อติดเชื้อ COVID-19 เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาต่อไปเกี่ยวกับผลของการรับประทานเคอร์คูมินเพื่อใช้ในการรักษา COVID-19 ด้วยตัวเอง จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่ควรทำการศึกษาต่อไป

สรุปผลการศึกษา

การรับประทานเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีนสามารถรักษาอาการ COVID-19 เบื้องต้นได้ เนื่องจากเคอร์คูมินมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านไวรัส ป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และสามารถช่วยฟื้นฟูอาการของผู้ป่วย COVID-19 ให้ดีขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานเคอร์คูมินร่วมกับไพเพอรีนสามารถช่วยลดอัตราการเจ็บป่วย

อัตราการเสียชีวิต ความรุนแรงของโรค ค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมทั้งยังลดอัตราการกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลซ้ำและภาระในระบบการรักษาพยาบาลได้ นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังช่วยยืนยันความปลอดภัยในการรับประทานเคอร์คูมินในระยะยาว (3 เดือน) อีกด้วย ดังนั้นเคอร์คูมินจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับการรักษา COVID-19 จากสารธรรมชาติ และยังสามารถป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังการติดเชื้อ COVID-19 ได้

Download “Oral Curcumin With Piperine as Adjuvant Therapy for the Treatment of COVID-19: A Randomized Clinical Trial”

Adjuvant-Therapy-for-the-Treatment-of-COVID-19.pdf – Downloaded 38 times – 774.73 KB

 

สอบถามเพิ่มเติม ผึ้งหลวง

 

: 02-510-2957

 : phuengluang.s