โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่มีแรงดันเลือดปะทะผนังหลอดเลือดแดงสูงพอที่จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้  ความดันโลหิตแปรผันตามปริมาณเลือดที่หัวใจปั๊มและความต้านทานต่อการไหลของเลือดในหลอดเลือดแดง ปริมาณเลือดสูง เนื่องจากการสะสมน้ำในร่างกายมากและหลอดเลือดแดงที่แคบลงเนื่องจากไขมันจับตัวที่ผนังหลอดเลือดด้านใน ทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีการควบคุมสามารถนำไปสู่โรคหัวใจ หัวใจวายและเส้นเลือดในสมองแตกได้

อาการของความดันโลหิตสูง ได้แก่ เวียนศีรษะ หายใจไม่สะดวก เลือดกำเดาไหล แต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะเจาะจง และคนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงไม่แสดงอาการ ดังนั้นผู้มีอายุ 18-39 ปีที่มีสุขภาพดีควรขอให้แพทย์ตรวจความดันโลหิตทุก 2 ปี ส่วนผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือ 18-39 ปีที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงควรตรวจความดันโลหิตทุกปี

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุมาก พันธุกรรม หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด โรคไต โรคเบาหวาน ไฮเปอร์ไทรอยด์ ขาดการออกกำลังกาย อ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea) ดื่มสุรามาก สูบบุหรี่หรือใช้ยาสูบด้วยวิธีใดก็ตาม (สารเคมีในยาสูบสามารถทำลายเยื่อบุผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแคบลง) กินอาหารที่มีเกลือสูงทำให้ร่างกายสะสมนํ้าและเพิ่มความดันโลหิต การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด โคเคนและยาบ้า หรือบางครั้งการตั้งครรภ์ก็ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนั้นระดับความเครียดสูงอาจนำไปสู่ความดันโลหิตสูงชั่วคราว ถ้าคุณพยายามผ่อนคลายด้วยการกินของหวานของมันและดื่มสุราหรือสูบบุหรี่แทนที่จะออกกําลังกายและนอนพักผ่อนคุณอาจมีปัญหาความดันโลหิตสูงมากขึ้น

References

  1. What is high blood pressure? American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/GettheFactsAboutHighBloodPressure/What-is-High-Blood-Pressure_UCM_301759_Article.jsp#.WrqtReR1rcs. Accessed March 9, 2018.
  2. Blood pressure monitoring kiosks aren’t for everyone. U.S. Food and Drug Administration. http://www.fda.gov/forconsumers/consumerupdates/ucm402287.htm. Accessed March 9, 2018.
  3. Know your risk factors for high blood pressure. American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/UnderstandSymptomsRisks/Know-Your-Risk-Factors-for-High-Blood-Pressure_UCM_002052_Article.jsp#.WrqvNeR1rcs. Accessed March 12, 2018.
  4. Limiting alcohol to manage high blood pressure. American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/MakeChangesThatMatter/Limiting-Alcohol-to-Manage-High-Blood-Pressure_UCM_303244_Article.jsp#.WrqvfOR1rcs. Accessed March 12, 2018.
  5. Forman JP. Diet in the treatment and prevention of hypertension. https://www.uptodate.com/contents/search. Accessed March 26, 2018.
  6. Appel LJ. Exercise in the treatment and prevention of hypertension. https://www.uptodate.com/contents/search. Accessed March 26, 2018.
  7. Shaking the salt habit to lower high blood pressure. American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/MakeChangesThatMatter/Shaking-the-Salt-Habit-to-Lower-High-Blood-Pressure_UCM_303241_Article.jsp#.Wrq0YeR1rcs. Accessed Feb. 21, 2018.
  8. Smoking, high blood pressure and your health. American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/MakeChangesThatMatter/Smoking-High-Blood-Pressure-and-Your-Health_UCM_301886_Article.jsp#.Wrq0quR1rcs. Accessed Feb. 21, 2018.
  9. Managing stress to control high blood pressure. American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/MakeChangesThatMatter/Managing-Stress-to-Control-High-Blood-Pressure_UCM_301883_Article.jsp#.Wrq08eR1rcs. Accessed March 12, 2018.

สุขภาพ