โรคไตเรื้อรัง

ไตเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถั่วอยู่ด้านหลังของช่องท้อง ทั้งด้านขวาและซ้ายของร่างกาย ไตทําหน้าที่กรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะ

โรคไตเรื่องรัง

โรคไตเรื้อรังเป็นการสูญเสียการทำงานของไตอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต่อเนื่องจนมีการสะสมของเสียและของเหลวในร่างกายในระดับสูงจนเป็นอันตราย โรคไตเรื้อรังในระยะแรกอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่จะมีอาการมากขึ้น เมื่อไตเสื่อมและสามารถพัฒนาไปสู่ ไตล้มเหลวหรือไตวายทําให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการฟอกไตหรือการเปลี่ยนไต

อาการของโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปัสสาวะมากหรือน้อยผิดปกติ ตะคริว เท้าบวม คันตามผิวหนัง ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ยาก เจ็บหน้าอกและหายใจลําบากเนื่องจากของเหลวสะสมในปอด

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ พันธุกรรม โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง กินอาหารรสเค็มจัดบ่อยๆ สูบบุหรี่ โรคหัวใจ โครงสร้างไตผิดปกติ ไตอักเสบเรื้อรัง ซีสต์ในไต ท่อไตอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอุดตันเป็นเวลานานเนื่องจากต่อมลูกหมากโต นิ่วในไตและมะเร็งบางชนิด

การใช้ยาแก้ปวดบางชนิดมากเกินไป เช่น แอสไพริน อีบุกซ์ นาพรอกเซน และอื่นๆอาจนำไปสู่ความเสียหายของไตได้ โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคไตควรหลีกเลี่ยงยาเหล่านี้และควรสอบถามแพทย์ก่อนใช้ยาแก้ปวด

References

  1. Chronic kidney disease (adult). Rochester, Minn.: Mayo Foundation for Medical Education and Research; 2015.
  2. Bope ET, et al. The urogenital tract. In: Conn’s Current Therapy 2016. Philadelphia, Pa.: Elsevier; 2016. http://www.clinicalkey.com. Accessed May 3, 2016.
  3. Chronic kidney disease (CKD) and diet: Assessment, management and treatment. National Kidney Disease Education Program. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-communication-programs/nkdep/a-z/Documents/ckd-diet-assess-manage-treat-508.pdf. Accessed April 28, 2016.
  4. Cook AJ. Allscripts EPSi. Mayo Clinic, Rochester, Minn. Feb. 23, 2016.
  5. Rosenberg M. Overview of the management of chronic kidney disease in adults. http://www.uptodate.com/home. Accessed April 21, 2016.

สุขภาพ